หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

๑. วิสัยทัศน์ในการพัฒนาสถานศึกษา

   ในการกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสถานศึกษาครั้งนี้ ข้าพเจ้านำหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารจัดการสถานศึกษา อาทิ การบริหารโดยโรงเรียนเป็นฐาน การบริหารแบบองค์รวม การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ฯลฯ รวมทั้งแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙ มาเป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ นำเสนอดังรายละเอียด
   วิสัยทัศน์
      ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๘ สถานศึกษาพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล ส่งเสริมความเป็นเลิศตามศักยภาพและพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นมืออาชีพ ตลอดจนบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยระบบคุณภาพ และน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้
   พันธกิจ
      . โรงเรียนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยระบบคุณภาพ
      ๒. จัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
      ๓. ส่งเสริมความเป็นเลิศตามศักยภาพและพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน
      ๔. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
      ๕. น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้
   เป้าประสงค์
     นักเรียนเป็นคนดี  มีความรู้เป็นเลิศสู่มาตรฐานสากล  เชิดชูคุณธรรม  นำประโยชน์สู่สังคมโลก  ชื่นชมความเป็นไทย
   อัตลักษณ์
      “กิจกรรมเด่น เน้นเทคโนโลยี มีความอ่อนน้อม พร้อมสู่สากล”



ภาพความสำเร็จ

             นักเรียน  มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่านและการค้นคว้า สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นคนดี มีคุณธรรม รู้จักคิดวิเคราะห์ มีทักษะการดำรงชีวิต ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ สามารถนำเสนอผลงานได้ รักษ์วัฒนธรรมไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม
             ครู  เป็นครูมืออาชีพ มีทักษะในการพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมกับนักเรียน มีความกระตือรือร้นสนใจ ใส่ใจ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามศักยภาพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
             ผู้บริหาร เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงให้โรงเรียน มีการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรม-มาภิบาล หลักการมีส่วนร่วม มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาวิชาการ หลักสูตร นวัตกรรม และกระบวนการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
             โรงเรียน  เป็นโรงเรียนชั้นดี มีคุณภาพ มีบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อบอุ่น ปลอดภัยมีเอกลักษณ์อันโดยเด่นเป็นต้นแบบของการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งเกิดจากการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา ร่วมสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
             ผู้ปกครองและชุมชน ให้การยอมรับ เชื่อถือ มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ และสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
  
๒ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา

   ในการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาครั้งนี้ ข้าพเจ้านำหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารจัดการสถานศึกษา อาทิ การบริหารโดยโรงเรียนเป็นฐาน การบริหารแบบองค์รวม ฯลฯ รวมทั้งแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙ มาเป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อบริหารจัดการสถานศึกษา การนำกลยุทธ์ ๕ กลยุทธ์ คือ
   กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสู่มาตรฐานสากล 
   กลยุทธ์ที่ ๒ ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึก ในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
   กลยุทธ์ที่ ๓ ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
   กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ
   กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
รวมทั้งนำแนวทางในการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ มาตรฐาน ๖๕ ตัวบ่งชี้ ใน ๕ ด้าน คือ 
๑) ด้านคุณภาพนักเรียน 
๒) มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา 
๓) มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 
๔) มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และ 
๕) มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม 
มาเป็นกรอบและแนวคิดในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีโครงการ/กิจกรรม/งานต่างๆ ส่งผลให้สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษา  และในการบริหารจัดการของข้าพเจ้านั้น ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ นำแนวคิด ทฤษฏีการบริหารมาประยุกต์ใช้  โดยมี“โครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล” เป็นแนวทางในการบริหารจัดการ  

    
         



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น