หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประเมินคุณภาพภายใน (ต่อ)


โรงเรียนของเราได้รับความเมตตาจาผู้ทรงคุณวุฒิได้เข้าร่วมประเมินคุณภาพภายใน ในช่วงเดือนที่ผ่านมา...ได้แนวทางในการประยุกต์ใช้ในการทำงานมากขึ้น...ขอขอบพระคุณมากค่ะ เลยอยากแบ่งปันสิ่งดี ๆ กับคนที่กำลังหาแนวทางในการพัฒนาคุรภาพการศึกษา...ลองดูนะคะ

แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา  
ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร   อำเภอศรีเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี
(ฉบับ  พันธะสัญญา)

มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้
ระดับ
ที่ได้
ค่าน้ำหนัก
คะแนนที่ได้
เทียบระดับคุณ ภาพ
ความ
หมาย
มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
-
5
5
5
ดีเยี่ยม
12.1  กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
5
1
1
5
ดีเยี่ยม
12.2  จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา   
5
1
1
5
ดีเยี่ยม
12.3 จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
5
1
1
5
ดีเยี่ยม
12.4  ติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
5
0.50
0.5
5
ดีเยี่ยม
12.5  นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5
0.50
0.5
5
ดีเยี่ยม
12.6  จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน
5
1
1
5
ดีเยี่ยม
สรุปผลภาพรวมของมาตรฐานที่ 12
คะแนนที่ได้......5.......เทียบระดับคุณภาพ............5.....แปลความหมายได้................ดีเยี่ยม..............
ร่องรอยความพยายาม(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)
ผลการพัฒนา
         จากการดำเนินงานของโรงเรียนในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ครบถ้วน                  ทั้ง 8 ภารกิจตามกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา พ.ศ. 2553 การเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องในการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมประเมินผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดความสามัคคี เป็นประชาธิปไตย รวมทั้งการมุ่งเน้นการใช้งบประมาณเพื่อการจัดการศึกษาอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำให้โรงเรียนได้รับการรับรองผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสอง ของ สมศ.  สรุปได้ว่า  โรงเรียนศรีเมือวิทยาคาร มีผลการประเมินมาตรฐานที่ 12  ในระดับคุณภาพ 5   แปลความหมายได้ ดีเยี่ยม
-คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
-แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปี2554-2557
-แผนปฏิบัติการ ประจำปี 2554
-รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี 2553
-สารสนเทศโรงเรียน ปี 2552-2554
-ประกาศมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ปี 2554
-ประกาศอัตลักษณ์สถานศึกษา
-รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ครั้งที่ 1-2
-ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
  ปี 2554
-แบบบันทึกการนิเทศภายใน
-ผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสอง ของ สมศ.
-รายงานการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา โดยเขตพื้นที่การศึกษา ปี 2553
วิธีการพัฒนาคุณภาพ
โรงเรียนนำกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา พ.ศ. 2553 มาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน มีการจัดทำประกาศมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และกำหนดค่าเป้าหมาย ทั้ง 65 ตัวบ่งชี้ ระหว่างปี 2554-2557 จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4 ปีและมีแผนปฏิบัติการรองรับทุกปี ระหว่างดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ มีการนิเทศ ติดตามช่วยเหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานวิชาการมีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและจัดทำรายงานส่งเขตพื้นที่การศึกษาตามกำหนดทั้ง 2 ครั้ง คือในเดือนตุลาคม 2554 และมีนาคม 2555 โรงเรียนมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วนทั้ง ด้านและให้บริการสารสนเทศผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ปี 2554 โรงเรียนได้เตรียมการประเมินไว้อย่างเป็นระบบ ทั้งเครื่องมือรวบรวมข้อมูลและระบบการประเมิน และได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการประเมิน รวมทั้งได้นำผลการประเมินมาเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี
  
แนวทางการพัฒนาในอนาคต
โรงเรียนควรกำหนดให้ครูทุกคน กำหนดค่าเป้าหมายของการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับค่าเป้าหมายตาม 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ของโรงเรียน กำหนดให้การดำเนินงานทุกระดับใช้วงจรคุณภาพ PDCA อย่างครบถ้วน ให้มีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเป็นระยะๆ และมีการสรุปรายงานการดำเนินงานโดยเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว และให้นำผลการประเมินไปใช้ โดยให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในงานที่ประสบความสำเร็จจนมีความยั่งยืนเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของโรงเรียน และปรับปรุง แก้ไข งาน โครงการ กิจกรรมที่มีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีส่วนร่วมด้วยการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ทั้งในระดับโครงการ ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับฝ่าย/ด้าน และระดับโรงเรียน

                                                           
                                                                     (ลงชื่อ)                               กรรมการประเมิน     
                                                                             ( นางสาวสุกานดา   ธิมา ) 
                                                                                  เมษายน  2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น