หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ว่าด้วย..."ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21"


ว่าด้วย..."ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21"

          พบกันอีกครั้งนะคะ ในครั้งนี้มีเรื่องที่อยากเล่าก็คือ ในช่วงก่อนปีใหม่ 2555 นี้เอง ดิฉันได้มีโอกาสรู้จักกับหนังสือเล่มหนึ่งจากการท่องโลกอินเตอร์เน็ต คือ “ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 แปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ จากเรื่อง 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn โดย James Bellanca and Ron Brandt (บรรณาธิการ) และมีโอกาสเป็นเจ้าของจากการไปที่ร้านหนังสือ...และให้หนังสือเล่มนี้เป็นของขวัญปีใหม่ให้ตัวเองค่ะ พร้อมกับเขียนปกในตัวโต ๆ ว่า “HAPPY NEW YEAR 2012” ค่ะ ท่านผู้อ่านสงสัยไหมคะว่าทำไมดิฉันต้องตามหาหนังสือเล่มนี้

          ประการแรกจากคำนิยมของท่าน ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช ที่กล่าวว่า “ในฐานะผู้คลั่งไคล้หนังสือเล่มนี้ ผมชื่นใจที่ผู้คนในสังคมไทยจะได้มีหนังสือดี ซึ่งสื่อสาระสำคัญยิ่งของการศึกษายุคใหม่ ที่แตกต่างไปจากแนวเดิม ๆ โดยสิ้นเชิง...นักการศึกษา ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้สนใจคุณภาพการศึกษาทุกคนควรจะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาไทยออกไปจากความเชื่อหรือวิธีคิดเก่า ๆ ให้การเรียนรู้ในสังคมไทยบรรลุการเรียนรู้ทักษะสำหรับมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ให้จงได้

และ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ยังได้กล่าวในคำนำว่า “การปฏิรูปการศึกษาที่แท้ควรปฏิรูปกระบวนทัศน์ด้วย ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ “กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้” และ “ครูมิใช่ผู้มอบความรู้” แต่เป็น “ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชน” เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมากมายมหาศาลเกินกว่าที่จะมอบให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ อีกทั้งนักเรียนในศตวรรษใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกแห่งทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอินเตอร์เน็ต หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับกระบวนทัศน์เดิมคือมอบความรู้เป็นรายวิชาก็จะไม่ทันสถานการณ์โลก ที่ควรทำคือมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้อะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน แต่ที่ทุกคนควรมีคือความสามารถในการเรียนรู้ตลอดเวลา ตลอดชีวิต และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง”

          นอกจากนี้ในหนังสือได้นำเสนอ “กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ค่ะ ก็แล้วยังไงอีก...เป็นโมเดลที่มาจากการหลอมรวมความคิดจากนักการศึกษาหลายท่าน ซึ่งขออนุญาตนำเสนอพอสังเขปดังนี้ค่ะ...

วิชาแกน
*   ภาษาอังกฤษ การอ่านหรือศิลปะการใช้ภาษา
*   ภาษาสำคัญของโลก
*   ศิลปะ
*   คณิตศาสตร์
*   เศรษฐศาสตร์
*   วิทยาศาสตร์
*   ภูมิศาสตร์
*   ประวัติศาสตร์
*   การปกครองและหน้าที่พลเมือง
แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21
*   จิตสำนึกต่อโลก
*   ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
*   ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
*   ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
*   ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
*   ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
*   การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา
*   การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
*   ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
*   ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
*   ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

ทักษะชีวิตและการทำงาน
*   ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
*   ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง
*   ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
*   การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด
*   ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21
*   มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21
*   หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21
*   การพัฒนาทางวิชาชีพของของศตวรรษที่ 21
*   สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

มาถึงตรงนี้...คงหายสงสัยบ้างแล้วนะคะ...ว่าทำไมดิฉันและคนในแวดวงการศึกษาจำต้องอ่าน...ก็ในเมื่อพวกเราต้องร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยู่แล้ว...แนวคิดดี ๆ แบบนี้...ทั้งไม่สงวนลิขสิทธิ์แล้วด้วย เราต้องนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนศรีเมืองวิทยาคารของเราอยู่แล้ว
เสียดายหน้ากระดาษหมดแล้ว...พบกันอีกค่ะ ในโอกาสหน้า

                                                            ด้วยรัก
                                                            อาคะณัง_ค๊า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น