หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา
“การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล”

              ในการบริหารจัดการของข้าพเจ้านั้นได้กำหนดรูปแบบในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยทำ “โครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล” ดังรายละเอียด
         “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล” ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 
              ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ 
              ส่วนที่ 2 หลักการ 
              ส่วนที่ 3 องค์ประกอบหลักของรูปแบบ 
              ส่วนที่ 4 การประเมินผล 
              ส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ นำเสนอโดยสังเขป ดังนี้ 

   ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์:  เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
   ส่วนที่ 2 หลักการ คือ 1) หลักการมีส่วนร่วม 2) หลักความรับผิดชอบ 3) หลักการทำงานเป็นทีม  
   ส่วนที่ 3 องค์ประกอบหลักของรูปแบบ
      “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล” มีองค์ประกอบที่สำคัญ 14 องค์ประกอบ ดังนี้
                  1. องค์ประกอบด้านผลผลิต / ผลลัพธ์ (3 องค์ประกอบ) ได้แก่ (1.1) ผู้เรียนมีคุณภาพมาตรฐาน มีพัฒนาการทุกด้าน เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข (1.2) โรงเรียนเป็นที่ชื่นชมของชุมชน       (1.3) โรงเรียนเป็นแบบอย่าง และให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนและโรงเรียนอื่น  
                  2. องค์ประกอบด้านกระบวนการ (4 องค์ประกอบ) ได้แก่  (   2.1) การจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด (2.2) การจัดบรรยากาศการเรียนรู้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (2.3) การบริหารจัดการดี ใช้โรงเรียนเป็นฐาน และเน้นการมีส่วนร่วม (2.4)การประกันคุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพ เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหาร  
                  3. องค์ประกอบด้านปัจจัย (6 องค์ประกอบ) ได้แก่ (3.1) ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพและจำนวนเพียงพอ (3.2) ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียนได้มาตรฐาน (3.3) หลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น (3.4) สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีทันสมัย (3.5) แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนหลากหลาย (3.6) งบประมาณมุ่งเน้นผลงาน   
                  4. องค์ประกอบด้านบริบท (1 องค์ประกอบ) ได้แก่ (4.1) สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนดี มีสังคม บรรยากาศ สิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ  
   ส่วนที่ 4 การประเมินผล โดย 1) การตรวจสอบประเมินผล และ 2) นำผลการประเมินมาปรับปรุง
   ส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ
      1. ผู้บริหารให้ความสำคัญกับโรงเรียนมาตรฐานสากล     
      2. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำในการเปลี่ยนแปลง  
      3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  



วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

๑. วิสัยทัศน์ในการพัฒนาสถานศึกษา

   ในการกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสถานศึกษาครั้งนี้ ข้าพเจ้านำหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารจัดการสถานศึกษา อาทิ การบริหารโดยโรงเรียนเป็นฐาน การบริหารแบบองค์รวม การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ฯลฯ รวมทั้งแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙ มาเป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ นำเสนอดังรายละเอียด
   วิสัยทัศน์
      ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๘ สถานศึกษาพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล ส่งเสริมความเป็นเลิศตามศักยภาพและพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นมืออาชีพ ตลอดจนบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยระบบคุณภาพ และน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้
   พันธกิจ
      . โรงเรียนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยระบบคุณภาพ
      ๒. จัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
      ๓. ส่งเสริมความเป็นเลิศตามศักยภาพและพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน
      ๔. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
      ๕. น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้
   เป้าประสงค์
     นักเรียนเป็นคนดี  มีความรู้เป็นเลิศสู่มาตรฐานสากล  เชิดชูคุณธรรม  นำประโยชน์สู่สังคมโลก  ชื่นชมความเป็นไทย
   อัตลักษณ์
      “กิจกรรมเด่น เน้นเทคโนโลยี มีความอ่อนน้อม พร้อมสู่สากล”



ภาพความสำเร็จ

             นักเรียน  มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่านและการค้นคว้า สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นคนดี มีคุณธรรม รู้จักคิดวิเคราะห์ มีทักษะการดำรงชีวิต ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ สามารถนำเสนอผลงานได้ รักษ์วัฒนธรรมไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม
             ครู  เป็นครูมืออาชีพ มีทักษะในการพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมกับนักเรียน มีความกระตือรือร้นสนใจ ใส่ใจ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามศักยภาพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
             ผู้บริหาร เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงให้โรงเรียน มีการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรม-มาภิบาล หลักการมีส่วนร่วม มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาวิชาการ หลักสูตร นวัตกรรม และกระบวนการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
             โรงเรียน  เป็นโรงเรียนชั้นดี มีคุณภาพ มีบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อบอุ่น ปลอดภัยมีเอกลักษณ์อันโดยเด่นเป็นต้นแบบของการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งเกิดจากการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา ร่วมสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
             ผู้ปกครองและชุมชน ให้การยอมรับ เชื่อถือ มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ และสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
  
๒ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา

   ในการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาครั้งนี้ ข้าพเจ้านำหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารจัดการสถานศึกษา อาทิ การบริหารโดยโรงเรียนเป็นฐาน การบริหารแบบองค์รวม ฯลฯ รวมทั้งแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙ มาเป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อบริหารจัดการสถานศึกษา การนำกลยุทธ์ ๕ กลยุทธ์ คือ
   กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสู่มาตรฐานสากล 
   กลยุทธ์ที่ ๒ ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึก ในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
   กลยุทธ์ที่ ๓ ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
   กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ
   กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
รวมทั้งนำแนวทางในการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ มาตรฐาน ๖๕ ตัวบ่งชี้ ใน ๕ ด้าน คือ 
๑) ด้านคุณภาพนักเรียน 
๒) มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา 
๓) มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 
๔) มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และ 
๕) มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม 
มาเป็นกรอบและแนวคิดในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีโครงการ/กิจกรรม/งานต่างๆ ส่งผลให้สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษา  และในการบริหารจัดการของข้าพเจ้านั้น ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ นำแนวคิด ทฤษฏีการบริหารมาประยุกต์ใช้  โดยมี“โครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล” เป็นแนวทางในการบริหารจัดการ  

    
         



วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

SK MODEL 3


นิยามศัพท์เฉพาะ

รูปแบบ หมายถึง โครงสร้างหรือโปรแกรมหรือตัวแบบที่จำลองสภาพความเป็นจริงที่สร้างขึ้นจากการลดทอนเวลาและเทศะ พิจารณาว่ามีสิ่งใดบ้างที่จะต้องนำมาศึกษาเพื่อใช้แทนแนวคิดหรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง โดยอธิบายความสำคัญขององค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบนั้น ๆ (บุญส่ง   หาญพานิช 2546: 92)
การบริหาร หมายถึง การใช้ภาวะผู้นำในการระดมและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติภารกิจขององค์การเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ หมายความว่า ผู้บริหารต้องเป็นบุคคลที่มีภาวะผู้นำสูงและสามารถใช้ภาวะผู้นำของตนในการระดมทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และในการระดมทรัพยากรปัจจัย ทั้งปัจจัยด้านเงิน วัสดุ และครุภัณฑ์ต่าง ๆ ให้เพียงพอในการดำเนินงานภารกิจ และใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในการปฏิบัติงานขององค์การได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (สมาน อัศวภูมิ 2549 : 382)
รูปแบบการบริหารโรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร หมายถึง โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคารมีสังคม บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ มีความพร้อมในด้านทรัพยากรวัตถุ เทคโนโลยี งบประมาณและทรัพยากรบุคคล สามารถจัดการศึกษาได้อย่างดี ทั้งในด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพสูงตามมาตรฐานกำหนด และได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วนทุกด้านเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข เป็นโรงเรียนที่สามารถจัดการศึกษาได้เหมาะสม สอดคล้องความต้องการของชุมชน เป็นที่ชื่นชมของชุมชน รวมทั้งเป็นโรงเรียนที่สามารถเป็นแบบอย่างในการให้ความช่วยเหลือชุมชนและโรงเรียนอื่นในชุมชนได้
   งานวิชาการ หมายถึง การดำเนินงานทุกอย่างของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้งานวิชาการมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประกอบด้วยงานหลัก คือ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียนรู้  การวัดผลและประเมินผล การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาและประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ
   งานงบประมาณ หมายถึง แผนซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการต่าง ๆ ขององค์การในลักษณะที่เป็นตัวเลข ภายในขอบเขตของระยะเวลาที่กำหนดในอนาคต ประกอบด้วย การจัดทำและเสนองบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล การใช้งบประมาณ การบริหารการเงิน การบริหารบัญชี และการบริหารพัสดุและสินทรัพย์    
   การบริหารงานบุคคล หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเพื่อให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด การดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเพื่อให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีขอบข่ายเกี่ยวกับการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ  การประเมินผลการปฏิบัติงาน   
   การบริหารทั่วไป หมายถึง การดำเนินงานบริหารงานอื่นๆ ที่ให้บริการส่งเสริม ประสานงาน  และอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของสถานศึกษามีขอบข่ายเกี่ยวกับการจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร การบริหารงานธุรการ งานกิจการนักเรียน การบริหารงานอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยบริการทางการศึกษา การพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ  และการส่งเสริมสนับสนุน  ประสานงานทางการศึกษาของบุคคล  ชุมชน  องค์การ
          โรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School) หมายถึง โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคารมีระบบการพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีคุณธรรมนำความรู้ รักความเป็นไทย และมีความสามารถก้าวไกลในระดับสากล (ชินภัทร   ภูมิรัตน 2553) โดยอาศัยกระบวนการที่เกิดจากการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 5 ประการ คือ การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ การมีวิธีคิดและโลกทัศน์ที่เปิดกว้าง  การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการคิดอย่างเป็นระบบ  

SK MODEL 2


วัตถุประสงค์ของโครงการ

1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการในการบริหารโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
      2) เพื่อร่างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
        3) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
          4) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
          5) เพื่อสรุปผลและนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน 

กลุ่มเป้าหมาย

1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร จำนวน 1,928 คน
          2) ผู้บริหาร และคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 99 คน
          3) ประชาชนในเขตพื้นที่บริหาร จำนวน 18 หมู่บ้าน คือ บ้านศรีเมืองใหม่ บ้านนาเวียงบ้านทุ่งบุญ บ้านดอนโปง บ้านนาเอือด บ้านแก้งกอก บ้านกุดชุม บ้านดอนงัว บ้านดอนใหญ่ บ้านกุดสมบูรณ์ บ้านบูรพา บ้านลาดควาย บ้านป่ากุงน้อย บ้านฟ้าห่วน บ้านนาเลิน บ้านโนนม่วงโนนจิก บ้านห้วยหมาก และบ้านหนองเชือก      

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

        1. ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
   1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร จำนวน 1,928 คน
             2) ผู้บริหาร และคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 99 คน
             3) ประชาชนในเขตพื้นที่บริหาร จำนวน 18 หมู่บ้าน คือ บ้านศรีเมืองใหม่ บ้านนาเวียงบ้านทุ่งบุญ บ้านดอนโปง บ้านนาเอือด บ้านแก้งกอก บ้านกุดชุม บ้านดอนงัว บ้านดอนใหญ่ บ้านกุดสมบูรณ์ บ้านบูรพา บ้านลาดควาย บ้านป่ากุงน้อย บ้านฟ้าห่วน บ้านนาเลิน บ้านโนนม่วงโนนจิก บ้านห้วยหมาก และบ้านหนองเชือก      
        2. ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
             1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
             2) ผู้บริหาร และคณะครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นมืออาชีพ
   3) ได้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผลจากการดำเนินการครั้งนี้มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในสถานศึกษา ดังนี้
             1. ทำให้ได้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร
             2. เพื่อเป็นประโยชน์ด้านวิชาการ โดยการนำแนวคิดจากการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน มากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการบริหารสถานศึกษา

แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้_เอกสารหมายเลข 2


แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้....................................................................ชั้น ม. ......../......... เวลา........ชั่วโมง
คำชี้แจง ให้ท่านพิจารณาองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ และทำเครื่องหมาย ü ลงในช่องที่ตรง
 กับระดับการประเมิน ดังนี้
           ระดับการประเมิน
            4      หมายถึง          มีความสอดคล้อง/เชื่อมโยง/เหมาะสมมากที่สุด
            3      หมายถึง          มีความสอดคล้อง/เชื่อมโยง/เหมาะสมมาก
            2      หมายถึง          มีความสอดคล้อง/เชื่อมโยง/เหมาะสมน้อย
            1      หมายถึง          มีความสอดคล้อง/เชื่อมโยง/เหมาะสมน้อยที่สุด
ที่
รายการประเมิน
ระดับการประเมิน
4
3
2
1
1
ชื่อหน่วยการเรียนรู้น่าสนใจ กะทัดรัด ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสาระ




2
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีความเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม




3
ความสอดคล้องของสาระสำคัญ/ความคิดรวบยอดกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด




4
ความสอดคล้องของสาระสำคัญ/ความคิดรวบยอดกับสาระการเรียนรู้




5
ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอดและสาระการเรียนรู้




6
กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด




7
กิจกรรมการเรียนรู้มีความครอบคลุมในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์




8
กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสม สามารถนำผู้เรียนไปสู่การสร้างชิ้นงาน/ภาระงาน




9
มีการประเมินผลตามสภาพจริงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด




10
ประเด็นและเกณฑ์การประเมินสามารถสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด




11
ความเหมาะสมในการกำหนดสื่อการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม




12
หน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำกำหนดเวลาได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้




รวม/สรุปผล  1.00-1.75 หมายถึง ปรับปรุง  1.76-2.50 หมายถึง พอใช้
                  2.51-3.25 หมายถึง ดี           3.25-4.00 หมายถึง ดีมาก





แบบประเมินหลักสูตร_เอกสารหมายเลข 1


แบบประเมินหลักสูตร

กลุ่มสาระการเรียนรู้.................................................วิชา..........................................รหัส......................

คำชี้แจง ให้ท่านทำเครื่องหมาย ü ในช่องว่างที่ตรงกับข้อความหลังจากท่านพิจารณาหลักสูตรในรายวิชาที่ท่านรับผิดชอบจัดการเรียนการสอนและแสดงความคิดเห็นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
          เห็นด้วย          หมายความว่า    ท่านมีความคิดเห็นด้วยกับข้อความในคำถามนี้
          ไม่แน่ใจ          หมายความว่า    ท่านไม่สามารถที่จะตัดสินได้ว่าข้อความในคำถาม
เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่
          ไม่เห็นด้วย       หมายความว่า    ท่านมีความคิดเห็นว่าข้อความในคำถามนั้นไม่เป็นจริง

ตัวอย่าง
ที่
รายการ
ความคิดเห็น
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
0
ปรัชญาหลักสูตรกำหนดไว้ชัดเจน
ü


          จากตัวอย่างแสดงว่าท่านมีความคิดเห็นว่าหลักสูตรได้กำหนดหรือระบุปรัชญาไว้อย่างชัดเจน

ที่
รายการ
ความคิดเห็น
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
1
หลักสูตรกำหนดปรัชญาหรือหลักการไว้อย่างชัดเจน



2
ปรัชญาหรือหลักการสอดคล้องสนองตอบสังคมชุมชน



3
ปรัชญาหรือหลักการสามารถทำให้เป็นจริงได้



4
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสอดคล้องกับปรัชญา



5
จุดมุ่งหมายหลักสูตรมีความสำคัญต่อสังคมชุมชน



6
จุดมุ่งหมายหลักสูตรสามารถปฏิบัติได้



7
จุดมุ่งหมายหลักสูตรระบุถึงคุณลักษณะของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้น



8
จุดมุ่งหมายหลักสูตรมีความครอบคลุมกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้



9
จุดมุ่งหมายหลักสูตรได้จัดไว้ตามลำดับความสำคัญ



10
จุดมุ่งหมายหลักสูตรแต่ละข้อสอดคล้องสัมพันธ์กัน



ที่
รายการ
ความคิดเห็น
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
11
เนื้อหาสาระสอดคล้องสนองตอบต่อปรัชญาหรือหลักการหลักสูตร



12
เนื้อหาสาระสอดคล้องและเอื้อต่อการบรรลุจุดมุ่งหมายในหลักสูตร



13
เนื้อหาสาระเหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน



14
เนื้อหาสาระได้จัดลำดับจากง่ายไปยาก



15
เนื้อหาสาระมีประโยชน์นำไปใช้ได้ในชีวิตจริง



16
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องสนองตอบปรัชญาหรือหลักการของหลักสูตร



17
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายในหลักสูตรได้



18
กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ



19
มีการกำหนดกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย



20
กิจกรรมการเรียนการสอนได้จัดลำดับขั้นตอนต่อเนื่อง



21
กำหนดเกณฑ์แลละระบบการให้คะแนนในการวัดและประเมินผลอย่างชัดเจน



22
มีเทคนิควิธีการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน



23
มีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



24
มีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน




ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….………………………